วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คู่มือเตรียมสอบ

คู่มือเตรียมสอบ

ผลงานลูกค้า



เปิดสอบ ราชการ งานราชการ หางาน สอบราชการ พนักงานราชการ สอบบรรจุ หางาน รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ
ศูนย์หนังสือสอบ sheetchula เป็นที่รวบรวมแนวข้อสอบรับราชการ ทุกหน่วยงาน และนี่คือผลงาน ความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อข้อสอบจากเราไป บางส่วน


1
2
3
4
5
6
7
8

บริการต่างๅ

บริการต่างๆ

บริการต่างๆ

ติดตาม Facebook

Youtube

แนวข้อสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปปช




รายละเอียดวิชาที่สอบ #แนวข้อสอบ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ปปช
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงาน ป.ป.ช
3 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้น
4 แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

+++ อ่านประกาศเพิ่มเติม และลิ้งค์สมัครที่ http://www.งานราชการไทย.com/
+++ กดติดตามรับข้อสอบที่ : http://line.me/ti/p/%40awr8388d
+++ กดถูกใจเพื่อรับแนวข้อสอบ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ปปช
ที่ https://www.facebook.com/1768315380058000

แนวข้อสอบ

แนวข้อสอบ

ความรู้ทั่วไป

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ย่อ: ป.ป.ช.) (อังกฤษNational Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11

การสรรหา

การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1[1]เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหาและคัดเลือกกรรมการ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ในการสรรหากรรมการ ให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินสรรหาและเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖ และมาตรา ๗ (๔) องค์กรละห้าคน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและคัดเลือก กรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก สำหรับกรณีที่เป็นการสรรหาเพื่อแต่งตั้งกรรมการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้องค์กรดังกล่าวแต่ละองค์กรเสนอรายชื่อเท่าจำนวนกรรมการที่ว่างลง
2. ให้มีคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นกรรมการคัดเลือก โดยให้เลือกกันเอง เป็นประธานกรรมการคัดเลือกคนหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น ทำหน้าที่กรรมการคัดเลือกแทน
3. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการจากรายชื่อบุคคลตาม (๑) ให้ได้จำนวนตามที่จะต้องแต่งตั้ง
4. ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนตาม (๓) ให้แจ้งให้องค์กร ตาม (๑) แต่ละองค์กรเสนอรายชื่อบุคคลใหม่เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการที่ยังขาดอยู่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนดังกล่าว และให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือก เพิ่มเติมตาม (๓) เป็นกรรมการเพิ่มเติมจากที่มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการไว้แล้ว
5. เมื่อได้มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการครบจำนวนแล้ว ให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการ ประชุมเลือกกันเองเพื่อเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และให้คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือก เป็นประธานกรรมการและกรรมการ พร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๗ วรรคสอง รวมทั้งความยินยอม ของบุคคลดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือก กำหนด

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา เกี่ยวกับการถอดถอนจากตำแหน่ง
  2. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ
  3. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปรกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
  4. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
  5. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและชั้นหรือระดับของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
  6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
  7. รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกปี และนำรายงานออกเผยแพร่# เสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
  8. ดำเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสิทธิหรือเอกสารสิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อนุมัติหรืออนุญาตให้สิทธิประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิแก่บุคคลใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ
  9. ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
  10. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเลขาธิการ
  11. แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
  12. ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายอื่นกำหนด
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

สำนักงาน ป.ป.ช.

รายนามคณะกรรมการ และ เลขาธิการคณะกรรมการ[แก้]

ปี 2542-2546

  1. โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ
  2. พันโท กมล ประจวบเหมาะ กรรมการ
  3. เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ
  4. ณัฏฐ์ ศรีวิหค กรรมการ
  5. ประสิทธิ์ ดำรงชัย กรรมการ
  6. เภสัชกรหญิง คุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กรรมการ
  7. นางฤดี จิวาลักษณ์ กรรมการ
  8. วิรัตน์ วัฒนศิริธรรม กรรมการ
  9. พลโท สวัสดิ์ ออรุ่งโรจน์ กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - กล้านรงค์ จันทิก

ปี 2547-2548

สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเอง[2]
  1. พล.ต.อ.วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
  2. ชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
  3. เชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
  4. ประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
  5. พินิต อารยะศิริ กรรมการ
  6. ยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
  7. วิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
  8. พล.ต.ท.ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ กรรมการ
  9. วิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - ศราวุธ เมนะเศวต

ปี 2549-2553

  1. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
  2. กล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
  3. ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
  4. ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
  5. เภสัชกร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
  6. ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ
  7. ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ
  8. วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
  9. นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ

ปี 2553-2557

ปี 2553 - 30 ธันวาคม 2558

  1. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
  2. ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
  3. เภสัชกร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
  4. ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ
  5. วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
  6. ปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ
  7. พลตำรวจเอกสถาพร หลาวทอง กรรมการ
  8. ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ
  9. นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - สรรเสริญ พลเจียก รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - วรวิทย์ สุขบุญ ชูศักดิ์ ปริปุญโญ นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร นายประหยัด พวงจำปา นายยงยุทธ มะลิทอง[4]**นายธรรมนูญ เรืองดิษฐ์ นางณัชชา เกิดศรี[5]

คณะกรรมการปัจจุบัน (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558) [6]

  1. พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [7]
  2. นายปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ (29 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) [8]
  3. พลตำรวจเอกสถาพร หลาวทอง กรรมการ (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) [9]
  4. นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน) [10]
  5. นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ (9 กันยายน พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน) [11]
  6. นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [12]
  7. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [13]
  8. นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [14]
  9. พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [15]
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - สรรเสริญ พลเจียก รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - วรวิทย์ สุขบุญ ชูศักดิ์ ปริปุญโญ นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร นายประหยัด พวงจำปา นายยงยุทธ มะลิทอง[16]**นายธรรมนูญ เรืองดิษฐ์ นางณัชชา เกิดศรี[17]

ข้อวิจารณ์

นิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า อดีตสมาชิกรัฐสภา 269 คนถูก ป.ป.ช. ขู่ดำเนินคดีซึ่งสะเทือนจุดยืนทางกฎหมายเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งนักการเมืองดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าละเมิดนั้น ถูกแม่ทัพประกาศให้เป็นโมฆะเมื่อยึดอำนาจ[18]
รายงานของบริษัท พอลิทิคัลแอนด์อีโคโนมิกริสก์คอนซัลทันซี จำกัด (Political and Economic Risk Consultancy, Ltd.) เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 จัดให้ ปปช. ของไทยอยู่รั้งท้ายเทียบกับ 12 องค์การต่อต้านทุจริตในประเทศทวีปเอเชีย โดยว่า ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีการทุจริตมากในระยะยาว แต่องค์การต่อต้านทุจริตเป็นองค์การที่ถูกใช้ทางการเมืองมากที่สุด องค์การช่วยเหลือรัฐบาลทหารในการทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองและป้องกันคนเหล่านี้ไม่ให้กลับมามีอำนาจ ปปช. ยังเสนอมาตรการเพื่อเล่นงานพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ปปช. มีบทบาทโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ละเลยคดีทุจริตซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นจำเลย ทำให้ ปปช. เสื่อมความน่าเชื่อถือและทำหน้าที่ได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ[19]
วันที่ 16 ตุลาคม 2558 ประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีที่มีกล่าวหาว่าพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดาขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกกับพวกจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที 200 โดยมิชอบ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องลึกลับ และว่าประสิทธิภาพของจีที 200 ไม่ได้คุณภาพ แต่การจะวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือไม่ยังต้องการอะไรมากกว่าเรื่องของประสิทธิภาพ[20]

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11
ในการสอบเข้าเป็น ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  และจะต้องสอบผ่านข้อเขียนก่อนจึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยวิธีการสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60

การเตรียมตัวสอบ
ในส่วนการสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง ควรอ่านให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
เมื่อมาถึงก็ให้เราแนะนำตัวเองก่อนเลย,ประทับใจอะไรปปช.เป็นพิเศษไหม,ความเห็นคิดของเราว่าสื้อมวลชนติว่าปปช.ทำงานช้า ถ้าเราเข้ามาทำงานในนี้จะแก้ไขปัญหาอะไรหรือทำอย่างไร,แล้วก็ปปช.แบ่งงานเป็นกี่สายงานอะไรบ้างประมาณนี้ละคะ เราทำแปปเดียวแต่คนก่อนหน้าเราถามนานมากๆๆๆ รอจนเ+++่ยวใจเลยคะ โชคดีทุกคนนะคะ
ตัวอย่างในการสัมภาษณ์ของ ปปช.
- ถ้าต้องเป็นอนุกรรมการไต่สวนแล้วมีญาติพี่น้องกระทำความผิด เราจะทำยังไง จะทำงานต่อหรือเปล่า ,แล้วถ้าผู้บังคับบัญชาให้ทำอะไรเรื่องที่ผิดระเบียบแต่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรจะทำไหม เกลี่ยกล่อมให้พยานมาให้ข้อมูล
- ถ้าให้ไปอยู่ ๓ จังหวัดชายแดนแล้วจะไปได้หรือไม่
- การทุจริตคืออะไร จะมีวิธีการป้องกันปราบปรามการแก้ไขปัญหาการทุจริต ได้อย่างไร
-ประทับใจอะไรปปช.เป็นพิเศษไหม
- ถ้าเราเข้ามาทำงานในนี้จะแก้ไขปัญหาอะไรหรือทำอย่างไร,แล้วก็ปปช.แบ่งงานเป็นกี่สายงานอะไรบ้าง
- จริยธรรมในการทำงานของ ปปช. มีอะไรบ้าง
- หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ป้องกัน หน่วยงานส่วนภูมิภาคมีกี่แห่ง


วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
- ความรู้เกี่ยวกับ
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เช่น  พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับ  ป.ป.ช. พระราชกฤษฎีกา บ้านเมืองที่ดี 2546  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
- ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
- ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- ความรู้ความเข้าใจสาระสำคัญในภาษาอังกฤษระดับต้น
2. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง  ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
3. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง  (ภาค  ค )  ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับสำนักงาน ป.ป.ช
3 แนวข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้น
4 แนวข้อสอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ตำแหน่งที่สอบ
พนักงานธุรการ
 เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สินปฏิบัติการ
เจ้าพนักงานปราบปรามการทุจริต
เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่การต่างประเทศ
นักจัดการงานทั่วไป
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
 ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน สายงานปราบปรามการทุจริต
ผู้ช่วยพนักงานไต่สวน